top of page

บ้านข้างวัดหมู่บ้านของ คน / ช่าง / เลือก

  • Writer: Pasan Craft Therapy
    Pasan Craft Therapy
  • Feb 27, 2020
  • 2 min read

Updated: Jul 20, 2020


เชียงใหม่ จังหวัดที่แสนจะน่ารักอบอุ่น รอบล้อมไปด้วยธรรมชาติเขียวขจี และบรรยากาศที่ร่มรื่น จังหวัดนี้รวบรวมทั้งอารยธรรม และวัฒนธรรมล้านนาที่งดงามไว้ในที่เดียว นอกจากนั้นยังมี เหล่าช่างฝีมือมากมายอยู่ที่นี่อีกด้วย ซึ่งส่งผลให้ดีไซน์ของงานหัตถกรรม หรืองานฝีมือต่างๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว งานหัตถรรมที่นี่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จนมีชุมชนงานคราฟท์เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่สนใจในงานคราฟท์ จนทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของทั้งคนไทย และต่างชาติอยากมาเยือนอย่างไม่น่าเชื่อ


บ้านข้างวัด ชุมชนงานคราฟท์ที่ซ่อนอยู่ใกล้ๆ กับวัดร่ำเปิงในซอยวัดอุโมงค์ ชุมชนนี้มีบ้านทั้งหมด 13 หลัง และอีกหนึ่งโรงหนังกลางแจ้ง ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของชุมชม สถานที่แห่งนี้มองรวมๆ ก็เหมือนหมู่บ้านเล็กๆ ที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง ซึ่งรวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวกไว้มากมาย เช่น ร้านค้า แกลลอรี่ สตูดิโอ ร้านอาหาร และร้านกาแฟ ไว้ในทีเดียว


บรรยากาศรอบ ๆ ชุมชนบ้านข้างวัด


เราจะพาทุกคนไปพบกับ ชุมชนเล็กๆน่ารักๆ ที่เชียงใหม่ และได้สัมผัสว่า สถานที่แห่งนี้น่าสนใจแค่ไหน ผ่านมุมมองของ คุณบุ๋งกี๋ - ศิริพงษ์ วงษ์จินดา หนึ่งในสมาชิกของโครงการบ้านข้างวัด และ ผู้อยู่เบื้องหลังสื่อต่างๆของที่นี่ ลองจินตนาการดู ถ้าพูดถึง “ช่างฝีมือ” ภาพในหัวที่ใครหลายๆคนนึกออกก็คงจะเป็น ชายแก่สวมใส่เสื้อผ้าธรรมดาๆ ดูศิลปินหน่อยๆ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย เพราะช่างฝีมือที่บ้านข้างวัดนั้น ต่างออกไปกับที่เราคิดไว้มาก เหล่าคราฟท์เตอร์ที่นี่ไม่ได้ดูล้าสมัย เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่หลงใหลในการทำงานคราฟ์แค่นั้นเอง


จุดเริ่มต้นของโครงการบ้านข้างวัด


เริ่มต้นจากพื้นที่ว่างเปล่า ห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่หลายกี่โลเมตร หมู่บ้านงานคราฟ์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดย คุณบิ๊ก - ณัฐวุฒิ รักประสิทธ์ ชายผู้จบจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณบิ๊กหลงใหลในการทำงานคราฟ์มาก และมีไอเดียที่อยากที่จะสร้างคอมมูนิตี้งานคราฟ์ขึ้นมา เพื่อที่จะแชร์พื้นที่ตรงนี้ ให้กับเหล่าคราฟท์เตอร์ หรือใครก็ได้ที่มีความชอบในงานคราฟท์เหมือนๆกัน รวมไปถึงใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งทำมาหากินได้โดยการทำงานฝีมือขาย และเขาก็ได้รับความช่วยเหลือจากนักลงทุนคนหนึ่ง ที่ช่วยทำให้ความคิดที่จะสร้างชุมชนงานคราฟ์ของเขานั้น กลายเป็นจริง โดยที่คุณบิ๊กนั้นลงมือออกแบบชุมชนนี้ด้วยตัวเอง และตั้งชื่อชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านข้างวัด”


คุณบิ๊ก เจ้าของโครงการบ้านข้างวัด


วิถีชีวิตแบบใหม่


ภาพแรกที่มักจะแวบเข้ามาให้หัวผู้คนเสมอ เมื่อพูดถึงหมู่บ้านงานคราฟ์ ก็คงจะเป็นชุมชนที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับงานหัตถกรรม สู่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนในสถานที่นั้นๆ หรือไม่ก็คงจะเป็นหมู่บ้านที่จัดแสดงวิธีการทำงานหัตถกรรมต่างๆ แล้วพอตกเย็นเหล่าช่างฝีมือก็คงแยกย้ายกันกลับบ้านของตนเอง ต่างจากบ้านข้างวัดตรงที่คราฟท์เตอร์ที่เป็นสมาชิกของหมู่บ้าน จะอาศัยอยู่ที่นี่ ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ทำงานคราฟท์ที่นี่ และมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบพื้นที่ต่างๆ ในชุมชนร่วมกัน ทำให้สถานที่แห่งนี้ทำให้ผู้คนที่มาเยือนนั้นรู้สึกว่างานคราฟท์ที่นี่นั้นมีชีวิต ซึ่งจะไปสอดคล้องกับคำพูดของคุณบุ๋งกี๋ที่ว่า “นี่คือวิถีชีวิตแบบใหม่ ที่ไม่ได้หรูหรา หรือโลคอลจ๋าๆ แต่มันเป็นชีวิตแบบกึ่งโมเดิร์น กึ่งคราฟท์” จากการที่ได้ไปสัมผัสบ้านข้างวัดด้วยตัวเองนั้น คราฟท์เตอร์ทั้งหมดที่นี่อยู่กันเหมือนครอบครัวใหญ่ครอบครัวนึง ซึ่งเปรียบเทียนบ้านข้างวัดได้กับหมู่บ้านแห่งนึง ซึ่งเหล่ามีคราฟท์เตอร์เป็นลูกบ้าน และเป็นเพื่อนบ้านในเวลาเดียวกัน ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ที่นี่โดยช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกือบจะทุกอย่าง โดยเฉพาะการดูแลพื้นที่ชุมชนรร่วมกัน พร้อมกับแลกเปลี่ยนความคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านข้างวัดแห่งนี้ของพวกเขานั้นพัฒนายิ่งขึ้น และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง


บ้านที่ถูกสร้างจากซีเมนต์และไม้


งานหัถตกรรมไม่ได้มีไว้สำหรับคนรุ่นเก่า


การออกแบบงานคราฟ์ที่ทันสมัยนั้นถูกถ่ายถอดโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือคนที่เริ่มจะประกอบอาชีพของตนเอง มีอย่างนึงที่คุณบุ้งกี๋พูดเกี่ยวกับงานคราฟท์ที่บ้านข้างวัดคือ “คราฟท์เตอร์ที่นี่จะพัฒนาสินค้าของพวกเค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะไม่ให้ซ้ำกับที่ไหนๆ” ซึ่งนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้คนทั้งในไทย และต่างประเทศสนใจชิ้นงานของที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางไปที่บ้านข้างวัดนั้น เรามีความรู้สึกว่าการทำงานหัตถกรรมต้องน่าเบื่อแน่ๆ ผู้คนที่นั่นก็คงจะเป็นคนเก่าคนแก่ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย งานคราฟท์ของที่นี้นั้นมีเอกลักษณ์มาก เพราะถูกทำและพัฒนาขึ้นในทุกๆปีโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ พวกเขาเพิ่มมูลค่าของสินค้า และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับงานคราฟ์ให้กับผู้คนที่มาเยือน รวมไปถึงคนในรุ่นๆเดียวกับเรา ให้มีความสนใจในงานคราฟท์มากขึ้น ผ่านชิ้นงานที่พวกเขาทำ เพื่อทำให้เห็นภาพมากขึ้นเราจะเล่าให้ฟังว่าความหมายที่แท้จริงของ งานหัตถหรรมที่ทันสมัยนั้นเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น  Bookoo studio ที่เป็นทั้งบ้านและร้านของคุณบิ๊ก เจ้าของโครงการ บ้านหลังนี้ทำเกี่ยวกับเซรามิค ซึ่งงานแต่ละชิ้นจะมีเอกลักษณ์ตรงที่คุณบิ๊กจะใช้ดินและไม้ที่หาได้จากเชียงใหม่เป็นส่วนประกอบ นอกจากบ้านของคุณบิ๊กแล้ว ที่บ้านข้างวัดก็ยังมีทั้งเวิร์คช็อปเกี่ยวกับ การระบายสีน้ำ การทำสมุด การย้อมสีเสื้อโดยใช้สีจากธรรมชาติ และการจัดสวนขวด อีกด้วย สิ่งที่เหมือนกันของงานทุกชิ้นจากบ้านข้างวัดก็คือ การใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ ที่สามารถหาได้ทั่วไปในเชียงใหม่ ซึ่งตัวเราคิดว่านี่คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานของที่นี่ดูมินิมอล อีกอย่างก็คือ งานที่มินิมอลแบบนี้ทำให้ผู้คนจดจำว่านี่เป็นงานของบ้านข้างวัด ไม่ใช่จากชุมชนงานหัตถกรรมที่ไหนนั่นเอง


ดีไซน์ต่างๆ ของชิ้นงานที่บ้านข้างวัด


ความประทับใจของผู้มาเยือน


กว่า 5 ปีที่บ้านข้างวัดได้เปิดตัว ที่นี่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่มาได้มีส่วนร่วมในทุกๆกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในโครงการ เราสามารถพูดได้เลยว่า ความสุขและความสงบที่นี่ตราตรึงใจเรา และนักท่องเที่ยวคนอื่นมาก จากที่เราได้ไปสัมผัสบ้านข้างวัดพร้อมกับครอบครัวของเรา สถานที่แห่งนี้ให้ความสุบอย่างเหลือเชื่อ โดยเริ่มตังแต่ก้าวแรกที่เหยียบเข้าไปในพื้นที่ของโครงการเลย ทั้งเพลงแจ๊สที่เปิดให้ความรู้สึกผ่อนคลาย การต้อนรับที่อบอุ่นจากคนในโครงการ บรรยากาศที่เงียบสงบที่เรารู้สึกมันได้จาก สีเขียว สีน้ำตาล และสีเทาของบ้านทุกหลัง รวมไปถึงต้นไม้ และการตกแต่งอื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกสงบ และมีความสุข ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ทำให้เราเพลิดเพลินไปกับที่นี่มากโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ เรารู้เลยว่าทุกคนมีความรู้สึกกับที่แห่งนี้ไม่ต่างจากเรา เชื่อไหมว่า ขนาดแม่เราเองยังพูดเลยว่า “ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีที่แบบนี้ในเชียงใหม่ ถ้าพาคุณป้าหรือคนรุ่นแม่มาต้องชอบมากแน่ๆ เพราะที่นี่เปลี่ยนความคิดของแม่ที่มีต่อชุมชนงานหัตถกรรมไปเลย”


เธอกำลังเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศของบ้านข้างวัด


ความสุขของช่างฝีมือ


“รู้สึกว่าเราได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตเค้าสนุกขึ้น มีสีสันมากขึ้นผ่านชิ้นงานที่เราทำ” คุณบุ้งกี๋กล่าว ประโยคนี้ประทับใจเรามาก ตอนที่เรากำลังสัมภาษณ์เขา มันทำให้เรารู้ว่าคราฟท์เตอร์ทุกคน คงไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าชิ้นงานที่พวกเค้าทำนั้นถูกใจลูกค้า และสามารถนำชิ้นงานนั้นไปใช้ได้ในชีวิตจริงๆ จากการที่คุณบุ้งกี๋เป็นคราฟท์เตอร์ที่นี่ตั้งแต่บ้านข้างวัดเปิดตัวในช่วงแรกๆ มีหลายครั้งคุณบุ้งกี๋สามารถรับรู้ได้จริงๆว่า งานของเค้านั้นถูกนำไปใช้จริง จากการที่คนที่ซื้อของไปนั้นเค้าถ่ายรูปและส่งให้คุณบุ้งกี๋ดูผ่านไลน์ ว่าของที่ซื้อไปนั้นถูกว่าไว้ตรงส่วนไหนของบ้าน ประสบการณ์ดีๆ เหล่านี้ เป็นกำลังใจให้เขาผลิตผลงานชิ้นต่อๆไปออกมา คุณบุ้งกี๋ได้พูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับความสุขว่า ตัวเขานั้นมีความคิดที่ว่า ถ้าได้ทำอะไรในสิ่งที่รัก หรือชอบ เหมือนกับการทำงานคราฟท์ แน่นอนว่ามันสามารถนำพาความสุขมาถึงเราได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าจะรู้สึกเหนื่อยบ้างบางครั้ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้มานั้นมันคุ้มค่าเหมือนกับเวลาที่ลูกค้าชอบงานของเรา


คุณบุ้งกี๋ ผู้ดูแลสื่อทั้งหมดของบ้านข้างวัด


สวัสดีคราฟท์


มีผู้คนมากมายสนใจในเวิร์คช็อปและดีไอวายมากขึ้น เพราะพวกเขาได้เห็นกิจกรรมเหล่านี้ที่บ้านข้างวัดมาก่อน แต่เมื่อก่อนกิจกรรมเวิร์คช็อปที่นี่เป็นพียงแค่เวิร์คช็อปเล็กๆเท่านั้น ซึ่งการที่มีผู้คนสนใจมากขึ้นทำให้เหล่าคราฟท์เตอร์ที่บ้านข้างวัดเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะขยับขยายคลาสเวิร์คช็อปให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของคนที่สนใจให้ได้มีโอกาสได้ทำชิ้นงานของตัวเองผ่านงานประจำปีที่มีชื่อว่า “สวัสดีคราฟท์” ชื่อของงานนี้ได้มาจากคำทักทายในภาษาไทยที่พูดว่า  “สวัสดีครับ” นั่นเอง และจุดประสงค์หลักของงานนี้นั้นจัดขึ้นเพื่อแนะนำงานคราฟ์ให้กับบุคคุลทั่วไปได้รู้จัก คุณบุ๋งกี้บอกว่า “ไอเดียของงานนี้เกิดขึ้นมาจากที่ทุกคนในชุมชนคิดว่า เราควรจะจัดงานอะไรสักอย่างที่จะช่วยโปรโมทงานคราฟท์ของเรา ไปพร้อมๆ กับการที่เปิดโอกาสให้คราฟท์เตอร์คนอื่นในเชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้โดยการมาออกบูธร่วมกัน” จากที่เราเองตั้งใจไปงานนี้โดยเฉพาะ สิ่งที่เราเห็นคืองานนี้ประสบความสำเร็จ และตรงกับจุดมุ่งหมายของงานที่ตั้งไว้อย่างมาก เพราะมีผู้คนมากมายมาที่นี่ ในวันที่เราไปนั้นคนส่วนมากที่มาจะเป็นคนจีนและคนเกาหลี พวกเค้าดูสนุกกับการได้มีส่วนร่วมในเวิร์คช็อปต่างๆ และซื้อสินค้าของที่บ้านข้างวัดเป็นอย่างมาก สำหรับคนที่สนใจร่วมทำเวิร์คช็อป สามารถเช็คตารางกิจกรรมได้จากเฟสบุ๊คเพจของบ้านข้างวัด หรืองงานสวัสดีคราฟท์ และทำการจองมาก่อนได้ หรือใครที่ไม่สะดวกก็สามารถลองเข้าไปสอบถามในวันที่ไปก่อนได้ว่ามีคลาสเวิร์คช็อปที่ต้องการเข้าร่วมนั้นเต็มหรือยัง เวิร์คช็อปคลาสของที่นี่ทั้งหมดมีราคาเดียวเท่านั้น ซึ่งก็คือ 500 บาทต่อหนึ่งเวิร์คช็อป และอีกสิ่งหนึ่ง ที่น่าสนใจในงานสวัสดีคราฟท์ครั้งนี้ก็คือตั๋วเข้างานนั่นเอง ทางโครงการจะใช้กระเป๋าผ้าราคา 149 บาทเป็นเหมือนตั๋วเข้างาน เพียงแค่ทุกคนซื้อครั้งเดียวก็สามารถเข้างานได้ทั้งหมด 5 วันเลย ขอแค่สะพายกระเป๋าผ้ามาเท่านั้น


บรรยากาศของงานสวัสดีคราฟท์


ความภูมิใจจากการทำงานคราฟท์


เราเคยมีคำถามกับตัวเองว่า การทำงานหัตถกรรมจะสามารถช่วยให้คนทั่วไปที่ไม่ใช่คราฟท์เตอร์แบบเราในการคลายความเครียดที่มีได้จริงหรอ?  คุณบุ้งกี๋ตอบเรามาว่า มันก็น่าจะช่วยได้นิดหน่อย แต่ส่วนมากคนทั่วๆไปจะสัมผัสได้ถึงความสุข แล้วก็ความภูมิใจมากกว่า เมื่อพวกเขาได้ลงมือทำงานคราฟ์ คุณบุ้งกี๋เล่าว่า เขาเคยมีโอกาสได้พูดคุยกับคนที่มาร่วมทำเวิร์คช็อป และพวกเขาเหล่านั้นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขามีความสุขเวลาที่ได้ทำงานคราฟท์ และความรู้สึกที่ตามมมาหลังจากนั้นคือความภูมิใจที่ได้ทำมันด้วยตัวเอง สำหรับเรา เราคิดว่าการทำงานคราฟ์เนี่ยไม่ได้แค่ช่วยให้คนที่ทำ มีสมาธิมากขึ้น และโฟกัสในสิ่งที่กำลังทำอยู่ แต่การทำงานอะไรแบบนี้ ก็ยังคงทำให้รู้สึกได้ถึงความภูมิใจอีกด้วย เราได้เดินไปรอบๆ งานและสังเกตุผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อป และสิ่งที่เราสนใจคืองานหัตถหรรมบำบัดมีผลดีต่อสภาพจิตใจเราอย่างไร แม้ว่าเราจะไม่ได้มีเวลามากพอในการเข้าร่วมเวิร์คช็อปเหล่านั้น คุณบุ้งกี๋บอกว่า “มันอาจจะจริงที่ว่าการทำงานคราฟท์มันบำบัดจิตใจเราได้ ในเรื่องของการช่วยลดความเครียด และความกังวลต่างๆ เพราะเมื่อได้ทำชิ้นงาน ผมจะโฟกัสกับมันมากๆ แทนที่จะโฟกัสสิ่งต่างๆรอบตัว ทำให้บางทีลืมความเครียดไป” ซึ่งเราคิดว่ามันหมายความว่าการทำงานคราฟท์สามารถทำให้เราลืมความเครียดไปได้ชั่วขณะ และยังทำให้จิตใจของเราสงบ โดยเฉพาะเวลาเราลงมือทำงานคราฟท์ด้วยตัวเอง


ตัวอย่างเวิร์คช็อปต่างๆ


ความสงบ และความสุข


ถ้าคุณต้องการหนีความวุ่นวาย อยากหาที่สงบๆ และกำลังพบเจอกับความเครียดต่างๆอยู่ เราอยากแนะนำที่นี่มาก เพราะที่นี่สามารถทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ ที่บ้านข้างวัดเป็นแหล่งรวมหลังงานบวกที่ดีแห่งหนึ่งเลย ทั้งบรรยากาศที่อบอุ่น หญ้าและต้นไม้เขียวขจี หรือจะเป็นการต้อนรับที่น่ารักอบอุ่นของคนในโครงการ ที่ทำให้เราตกหลุมรักที่นี่ และอยากมีเวลามากกว่านี้ที่จะได้อยู่ที่นี่ และถ้าคุณเป็นคนที่สนใจในงานคราฟท์ หรืออยากที่จะได้ลองทำมัน ลองหาเวลาว่างๆในวันหยุดมาปลดปล่อยความเครียดที่มี ที่บ้านข้างวัดก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ไม่แย่นะ แม้ว่าโครงการบ้านข้างวัดจะยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากมายในตอนนี้ แต่เท่าที่เราเห็น สถานที่นี่ก็มีผู้คนมากมายเดินทางมาเพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอด ดังนั้น อย่ารอช้าถ้ามีเวลาว่างเก็บกระเป๋าและมาที่นี่กันเถอะ ก่อนที่สถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นแหล่งรวมนักท่องเที่ยวมากมายๆ เหมือนกับจุดท่องเที่ยวที่อื่นๆ ในเชียงใหม่


สีเขียวและสีน้ำตาลของธรรมชาติที่บ้านข้างวัด


สถานที่ที่จะทำให้เรารู้สึกถึงคำว่า “สงบ”


มันอาจจะมีสถานที่หลายแห่งในโลกที่ให้ความรู้สึกสงบกับเรา แต่ที่นี่ ที่บ้านข้างวัดแห่งนี้ เป็นอีกที่นึงที่ให้ความรู้สึกสงบได้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจริงๆ ตอนที่ได้ไปที่นั่น แม้ว่าจะใช้เวลาอยู่ที่นั่นไม่นานมาก เราก็รู้สึกได้เลยว่าที่นี่นำพาความสุขและความสงบมาสู่คนที่ไปเยือนได้จริง ยิ่งไปกว่านั้น การทำงานคราฟ์ก็เป็นสิ่งที่สมาชิกทุกคนที่นี่ทำอยู่ทุกวัน ซึ่งก็จะไปเกี่ยวกับคำถามที่คุณบุ๋งกี๋ถามเรากลับว่า “สิ่งที่เราทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่เรารักหรือเปล่าหล่ะ?” ลองถามตัวเองดู ถ้ามันเป็นสิ่งที่เรารักหรือเราชอบทำมัน ไม่ว่าจะเป็นงานคราฟท์ หรือการทำงานชนิดไหนๆ ถ้าเราเต็มที่กับมันจริงๆ มันก็สามารถให้ความสุขกับเราได้นะ ซึ่งทำให้เราคิดได้ว่า ชุมชนบ้านข้างวัดนี่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่สงบที่ผู้คนใฝ่หาเท่านั้น แต่ที่ยังเป็นเหมือนที่ที่ให้ความสุขกับคราฟท์เตอร์ทุกคนนี่นี้อีกด้วย

Comments


logo2_edited_edited.png
  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram
copyright-symbol-png-white-4.png
2020 by Supanit Kongtanakarun
logo Media com.png
Untitled-3.png
MUIC_Logo_Eng-01.png
bottom of page