“ปัท ปรัชยพร วรนันท์” นักศิลปะบำบัดรุ่นใหม่ ที่ใช้ศิลปะสร้างสมดุลชีวิต
- Pasan Craft Therapy
- Jun 19, 2020
- 1 min read

“ปัทเชื่อว่าเราทุกคนมีกระบวนการและแรงบันดาลใจที่จะมอบให้แก่กัน”
ในช่วงสายของวันพุธที่มีฝนโปรยปรายลงมาเล็กน้อย เรานั่งรออยู่ในห้องรับรองของตึกแห่งนึกที่ดูเหมือนกับสำนักงานกึ่งที่พัก ตึกนี้ตั้งอยู่หลังคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งติดกับถนนอโศก-ดินแดง ในย่านพระราม 9 บรรยากาศในห้องรับรองนั้นให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเรากำลังนั่งอยู่ในหอศิลป์ ที่มีงานศิลปะถูกจัดวางเรียงรายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นบนพื้นหรือผนัง ในระหว่างที่เรากำลังนั่งมองงานศิลปะรอบตัวอย่าเพลิดเพลิน เราได้ยินเสียงคนคนหนึ่งพูดขึ้นด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลซึ่งทำให้เราได้เหลือบไปพบกับผู้หญิงคนนึง กำลังเดินตรงมาที่เรา เธอใส่ชุดสีเดรสที่ดูสบายๆสีกรม พร้อมกับผมที่ถูกปล่อยอย่างเป็นธรรมชาติดูแล้วท่าทางอบอุ่นเข้าถึงง่าย ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่านี้อาจจะเป็นภาพลักษณ์ภายนอกแบบนึง
ที่ไม่ว่าใครเห็นก็รู้สึกไว้วางใจและผ่อนคลายเมื่ออยู่ใกล้
ปัท-ปรัชญพร วรนันท์ นักศิลปะรุ่นใหม่ ผู้มีเคยมีความฝันว่าอยากจะสร้างพื้นที่ปลอดภัย
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ความเข้าใจผ่านกระบวนการศิลปะบำบัดที่เธอได้เรียนมา ในการที่จะสร้างความสมดุลให้ชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้นและเครียดน้อยลง ซึ่งเธอเชื่อว่า “นักศิลปะบำบัด”
ก็เหมือนกับเพื่อนคนนึง ที่พร้อมจะรับฟังและช่วยสร้างความสบายใจ พร้อมทั้งช่วยทำให้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใสชีวิตและผ่านมันไปได้ โดยใช้วิธีการหรือกระบวนการทางศิลปะเข้ามาเป็นส่วนนึงเท่านั้นเอง
อะไรคือความหมายที่แท้จริงของ “ศิลปะบำบัด” ?
ศิลปะบำบัดเป็นกระบวนการนึง เป็นศาสตร์การเยียวยาที่ใช้ศิลปะหรือการสร้างสรรค์ศิลปะมาเป็นตัวกลางในการสื่อความรู้สึก ในการเปิดพื้นที่ แล้วก็เป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับตัวบุคคลที่มาทำกระบวนการได้ รู้สึกว่าเค้าเป็นตัวของตัวเองได้ เป็นพื้นที่ในการรองรับ ระบายความรู้สึก ความคิด เรื่องราว และเป็นกระบวนการที่ไม่เน้นทักษะแต่เราเน้นการเดินทาง การเดินทางในการสร้างความเข้าใจ การตระหนักรู้หรือว่า awareness บางครั้งเราทำงานกับการละวาง การ let go เราทำงานกับทุกอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลจนมันมีภาวะที่เค้าสะท้อนบางอย่างว่าเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เค้าต้องเผชิญอยู่หรือเค้าแบกมันอยู่

รูปวาดสะท้อนอะไรบางอย่าง
ทำไมถึงเลือกที่จะเรียนเกี่ยวกับศิลปะบำบัด?
จริงๆมันเกิดมาจากตอนที่ปัททำธีสิสจบปริญญาโทค่ะ เนื่องจากว่าเราสนใจเรื่องของการศึกษา เราสนใจว่าศิลปะสามารถจะทำอะไรในเรื่องของการช่วยดูแลซัพพอร์ตให้เด็กมี critical thinking คือการคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น ศิลปะทำยังไงที่จะช่วยให้เด็กๆสามารถสื่อสาร ความเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น ก็เลยไปทำโปรเจคกับเด็กๆ ซึ่งเราทำเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพ และก็สอนเด็กๆในเรื่องของการเขียนเพื่อreflectต่างๆ ในระหว่างที่ทำกิจกรรมนี้กับเด็กๆ ใช้เวลาอยู่กับเด็กๆ ปัทก็สังเกตุเห็นว่าภาพหรือศิลปะของเด็กๆเนี่ยสะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเค้า แต่ในช่วงเวลานั้นตัวปัทเองไม่รู้ว่าจะซัพพอร์ทเด็กๆยังไง คือเราไม่แน่ใจว่าเราต้องสื่อสารแบบไหนเพื่อที่จะมั่นใจว่าเราจะสามารถดูแลเด็กๆได้จริง เพราะว่าเรารู้ว่า impact ของการสื่อสารหรือว่าาคำพูดของเราเนี่ยสามารถส่งผลต่อคนคนนึงไปตลอดชีวิตเลยก็ได้ ก็เลยทำให้ปัทไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ positive psychology แบบ children’s drawing แล้วปัทก็เลยค้นพบว่ามันมีศาสตร์นึงที่เรียกว่า ศิลปะบำบัด ก็เลยตัดสินใจไปเรียนต่อหลังจาจบปริญญาโท นั้นก็คือเรื่องราวว่าทำไมเราถึงผันตัวเองไปทำงานเกี่ยวกับศาสตร์นี้
เป้าหมายของการเป็นนักศิลปะบำบัดคืออะไร?
จริงๆหน้าที่ของนักศิลปะบำบัดก็คือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยค่ะ เหมือยเราเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยของตัวบุคคลเป็นหลัก เราแนะนำทั้งในเรื่องของกระบวนการและอุปกรณ์ รวมถึงเป็นเพื่อนผู้ที่จะคอยประคับประคองตัวบุคคลในการทำกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม การช่วยเค้าค้นหา และให้เวลากับตัวบุคคลในการที่ทำความเข้าใจกับความรู้สึก ในขณะเดียวกันนศิลปะบำบัดก็เหมือนเป็นความสัมพันธ์นึง เป็นความสัมพันธ์ของเพื่อนที่ไร้การตัดสิน และก็ช่วยกันในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของตัวบุคคล

ห้องทำงานของคุณปัท
จุดเริ่มต้นทำให้เกิดสตูดิโอเพอโซนาคืออะไร?
สตูดิโอเพอโซนาเกิดขึ้นมาจากจินตนการของปัทตั้งแต่ 8 ขวบ คือปัทเติบโตขึ้นมาด้วยการวาดรูปเล่นเยอะเล่นคนเดียวเยอะ เพราะว่าเราเป็นลูกคนเดียว และก็ปัทเป็นคนกรุงเทพฯ คุณพ่อคุณแม่เมื่อก่อนเค้าจะทำงานหนักมาก และเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่อย่างน้อยให้เราได้มีโอกาสได้ใช้ศิลปะเพื่อเล่นเพื่ออะไรอย่างเงี่ยค่ะ แล้วมันจะมีช่วงนึงที่ปัทได้มีโอกาสไปเรียนศิลปะข้างนอก ก็จะเป็นสวนเป็นบ้าน
แล้วในวันนึงของเราเนี่ย เรามีความรู้สึกว่าเราอยากเปิดโรงเรียนศิลปะ หรือเราอยากจะทำพื้นที่บางอย่างที่ให้คนเข้ามาแล้วคนมีความสุข หรือว่ามีความรู้สึกว่าเค้าเป็นเค้าได้เหมือนเราเป็นเราได้ตอนนั้นที่อยู่ที่นั้นก็เลยเป็นแรงบันดาลใจนึที่ปัทรู้สึกว่าติดตัวปัทมาตั้งแต่เรายังเล็กมากยังเด็กปัทรู้สึกว่าเราทุกคนเนี่ยมีเรื่องราวบางอย่างที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่กันแต่ว่าเราขาดพื้นที่และกระบวนการ ก็เลยเป็นไอเดียวว่าทำไมปัทถึงอยากทำพื้นที่บางอย่าง เพื่อที่จะเปิดให้ใครก็ได้ที่สนใจเรื่องของกระบวนการและศิลปะ
ได้มีโอกาสมาแชร์กัน แล้วก็ปัทเชื่อว่าเราทุกคนมีกระบวนการและแรงบันดาลใจที่จะมอบให้แก่กัน
ก็เลยอยากทำพื้นที่นี้ขึ้นมาค่ะ

ห้องนึงในสตูดิโอเพอโซนาสำหรับทำกิจกรรมบำบัด
คนส่วนมากที่มารับการบำบัดเป็นคนกลุ่มไหน และมาด้วยเหตุผลอะไร?
ส่วนใหญ่จะอายุตั้งแต่ 25 จนถึง 37 ค่ะ ส่วนใหญ่ก็คือจะเป็นนักศึกษาที่พึ่งเรียนจบแล้วทำงานอยู่ หรือว่าจะเป็นคนในวัยทำงาน ส่วนใหญ่คนที่ทำงานเรื่องจริงๆก็หลายหลายเนอะ ก็คืออาจจะมาในรูปแบบของการที่ต้องการค้นหาสมดุลในการที่จะมี work life balance บางท่านก็อาจจะมีแบบต้องการทำงานในเรื่องของความสัมพันธ์
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มมีภาวะความเครียด?
การสังเกตุก็คือว่า ถ้าเราเริ่มมีความเครียด เราเริ่มที่จะนอนไม่หลับ behavior บางอย่างในชีวิตประจำวันเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเช่น เราไม่ค่อยมีแรง รู้สึกอ่อนล้า ไม่มีแรงบันดาลใจในการตื่นขึ้นมาเพื่อจะทำอะไร ก็คือจริงๆร่างกายของเราเนี่ยเป็นเพื่อนที่ดีนะ เค้าจะส่งสัญญาณบางอย่างที่เราเองจะรับรู้ว่ามันมีบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเราแล้ว ถ้าแนะนำก็คือเราอาจจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็ได้ หรือว่าหาใครสักคนใกล้ชิดที่เราสามารถไว้วางใจเค้าได้ รู้ว่าเค้าไม่ตัดสินเราจากสิ่งที่เราเป็น ขอคำปรึกษาหรือแชร์กับใครสักคน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก
เป็นนักศิลปะบำบัด ส่วนตัวเคยเจอปัญหาความเครียดบ้างมั้ย?
ปัทเองก็มีทั้งความเครียดและความรับผิดชอบหลายๆอย่างเป็นตัวแปรในชีวิต ที่แน่นอนว่าไม่ต่างจากทุกคนเลยเหมือนกัน วิธีที่ปัทสร้างสมดุลให้กับตัวเองและประคับประคองบางครั้งที่เรามีความเครียด คือ หนึ่งออกกำลังกาย สองคือปัทเขียนปัทจะเขียนเยอะเพราะปัทรู้สึกว่าการเขียนเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนแล้วเราทำได้เลยเมื่อต้องการ ก็คือเราเขียนไปเรื่อยๆให้เอาความคิดความรู้สึกของเราลงไปในพื้นที่ตรงนั้นก่อน เหมือนเราได้ระบาย เราได้ปลดปล่อยไปแล้วในพื้นที่ปลอดภัยซึ่งก็คือสมุดเล่มนั้นของปัท และก็อีกอย่างถ้าปัททำเมื่อมีโอกาสก็คือพยายามที่จะสร้างสมดุลใน work life balance ของตัวเอง
เช่น เราไม่ทำงานหนักจนเกินไป เราพยายามที่จะฝึกawarenessเกี่ยวกับความรู้สึกเราในเวลาที่เราเกิดความเครียดความกังวล พยายามจะหาสมดุลของเค้าโดยการที่เราฝึกจับอารมณ์ความรู้สึกของเราให้ทัน บางครั้งปัทก็แชร์กับเพื่อนสนิทหรือว่าคนที่เรารู้สึกว่าเราไว้ใจเค้า แล้วเราพูดคุยกับเค้าได้ถึงความกังวลที่มีอยู่ และก็อีกอันนึงคือเราฝึกการละวางอารมณ์ การฝึกที่จะจับบางอย่างที่ไปข้างหลังหรือไปข้างหน้าให้อยู่แค่ตรงนี้ก็สำคัญ จริงๆปัทว่าการที่เราฝึกไปด้วยในขณะที่เราก็ใช้ชีวิตของเราไปช่วยทำให้เราเกิด work life balance ได้มากขึ้น แม้ว่าเราจะมีความเครียดบ้างแต่เราจับได้เร็ว พอเราจับได้เร็วเรามีawareness ได้เร็ว เราลดการเครียดของความเครียดได้เร็วขึ้น หลังจากนั้นเราค่อย twist เค้า
เป็นแบบอื่น เรามี transitionให้กับความรู้สึกในความกังวลของตัวเอง
บทความนึงเคยบอกว่าบอกว่างานคราฟท์และงานศิลปะช่วยคลายความเครียด
ส่วนตัวแล้วคุณปัทคิดว่ายังไง?
ปัทว่าวัตถุประสงค์ก็คือโดยหลักน่าจะเน้นความผ่อนคลายและได้มีโอกาสให้มือได้ทำอะไรบางอย่าง ได้มีสมาธิจากการโฟกัสในเรื่องของการ create บางอย่างการใช้มือทำบางสิ่งบางอย่าง ในขณะเดียวกัน art therapy ก็มีเป้าหมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นสร้างความผ่อนคลาย และเราทำงานเชิงลึกกับความรู้สึก เราทำงานกับเรื่องราวที่ตกค้าง ปัทว่าความหมายของ therapy โดยรวมคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัย หรือการสะท้อนความเข้าใจหรือ awareness เกี่ยวกับภาวะอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก
หรือเรื่องราวของตัวบุคคลที่จริงๆเค้ามีมันอยู่
ศิลปะบำบัดกับหัตถกรรมบำบัดแตกต่างกันยังไง?
Art therapy เป็นกระบวนการนึงที่ทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญคือ
จบเกี่ยวกับการทำงานเชิงเยียวยาโดยตรง โดยที่ความต่างคือน่าจะเป็นตัวบุคคลผู้ทำกระบวนการนั้นค่อนข้างที่จะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างพื้นที่ของความปลอดภัย ศิลปะบำบัดเนี่ยมันเกิดขึ้นในห้อง แล้วก็มันมีการแลกเปลี่ยน คือเรามีภาษาให้กับสิ่งที่เราทำมากขึ้น เรามีการทำความเข้าใจ มีการตั้งคำถามมากขึ้น อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย มีความสัมพันธ์บางอย่างเกิดขึ้นในการทำกระบวนการ เรื่องราวของเราค่อยๆผ่อนคลายลึกลง อันนั้นจะเป็นในเรื่องของ therapy เพราะเราทำงานเพื่อสะท้อนบางอย่างในความรู้สึกของตนเอง ส่วน craft therapy ปัทคิดว่าคราฟท์น่าจะเป็นการสร้างสรรค์ด้วยมือที่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งใน art therapy ที่เราลงมือทำสร้างสรรค์อะไรบางอย่างด้วยมือของเราและปัทรู้สึกว่าจริงๆงานคราฟท์สร้างความรู้สึกที่ผ่อนคลาย ปลอดภัย สบายใจ และมั่นคงได้ดีมาก คำว่า therapy คือเราไม่เน้นทักษะอยู่แล้วเราไม่ได้เน้นสร้างสรรค์ความสวยงาม แต่เราเน้นเรื่องกระบวนการที่มีความหมายมากกว่า เพราะฉะนั้น Art therapy กับ Craft therapy มีความเชื่อมโยงกันในตรงที่ว่าไร้การตัดสิน
เราทำงานโดยมือและตัวเองในการที่สร้างสรรค์บางอย่างโดยที่เราไม่ได้เน้นความสวยงาม

อุปกรณ์การทำกระบวนการศิลปะต่างๆ
ศิลปะบำบัดในความคิดของคุณปัทคืออะไร?
ปัทว่ากระบวนการศิลปะเป็นทางเลือกนึงที่สามารถทำให่ตัวบุคคลมีประสบการณ์ใหม่ ผ่านพื้นที่ปลอดภัยว่าจริงๆกระบวนการสร้างสรรค์ที่ไม่เน้นทักษะ ช่วยประคับประคอง ช่วยสะท้อน และช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลได้
คำว่าศิลปะบำบัด อาจจะฟังดูธรรรมดา แต่ใครจะรู้ว่าความจริงแล้วศิลปะบำบัดนั้นสามารถส่งผลต่อทั้ง อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ของเราได้ในหลายๆด้าน บางทีเวลาที่เราเจอกับปัญหาที่ไม่มีทางออก ศิลปะสามารถทำหน้าที่เยียวยาเราได้ ทำให้เราเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น คำนึงถึงเหตุผลและพร้อมที่จะเผชิญเรื่องยากๆต่างๆมากขึ้น เพียงแค่เปิดใจลองคุยกับใครสักคน หรือลองทำอะไรใหม่ๆเปิดประสบการณ์ชีวิตให้กับตัวเอง อย่างเช่น การทำงานคราฟท์ งานศิลปะ หรืออะไรก็ตามที่เราได้ทำมันโดยใช้สองมือของเรา เพราะมันสามารถสร้าง safe zone ให้กับเราได้ผ่านตัวกลางที่เราทำ ผ่านสองมือของเราทีได้สัมผัสกับตัวกลางเหล่านั้น เช่น วาดรูป เย็บผ้า ปั้นดิน หรืออื่นๆ
เช่นเดียวกันกับคุณปัท-ปรัชญพร วรนันท์ นักศิลปะผู้ซึ่งมีแนวคิดที่ว่า “ศิลปะบำบัดช่วยสร้างสมดุลชีวิต” เธอไม่ใช่แค่คอยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับใครหลายๆคน แต่เธอยังเอาแนวทางที่บอกต่อผู้คนเหล่านั้นมาใช้ในชีวิตของเธอเองเช่นกัน เพื่อทำให้ชีวิตของเธอเกิดความสมดุล และสามารถรับมือกับความเครียดหรือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ในชีวิต
コメント